เจ้าหญิงคุยะคุ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสถานที่แห่งหนึ่งชื่อวาคะคิ
ในสมัยเอโดะที่นี่แบ่งเขตได้ 4 หมู่บ้าน
โอกะเบะเรียวฮิกาชิคะวะโกะมูระ
โอกะเบะเรียวนิชิคะวะโกะมูระ
ฮะทสึอิเกะเรียว และ ทาเคโอะเรียว
(อ่านจากหนังสือคะวะโกะโชวยะนิกกิ โชะฮิกะเอะโจ
อ่านจากสมุดบันทึกของพ่อค้าที่คะวะโกะ
ผู้แต่ง: มัทสีโอะ มาซาโนบุ)

ในปัจจุบันวาคะคิแบ่งออกเป็น 15 เขตที่เรียกภาษาญี่ปุ่นว่า คุ
และมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่มากมาย

นและสามีย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ที่นี่และสนุกดีกับการใช้ชีวิตที่บ้านนอก
ตอนที่เริ่มย้ายเข้ามาอยู่ได้ยินคำว่า คุยะคุ งานของเขต เป็นสิ่งที่ต้องทำเมื่อย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ว่าแต่ คุยะคุ นั้นคืออะไร

ลูกสาวของเจ้าของบ้านเช่าอธิบายให้ฟังว่า
“คนในหมู่บ้าน ส่งตัวแทนมาบ้านละคน มาช่วยกันตัดหญ้าไม่ให้ขวางทางระบายน้ำส่งน้ำทางการเกษตรในเขตพื้นที่ที่อยู่
จากนี้ก็เตรียม หมวก ถุงมือ และเคียวเกี่ยวหญ้าให้คุณสามีไว้ได้เลย”

แต่ทว่า ตอนที่ย้ายมาอยู่วะคะคิได้ไม่นาน สามีก็เกิดรถล้มกระดูกหัก ดังนั้นฉันจึงออกไปลุยงานคุยะคุ ถางหญ้าแทน

บอกเลย ไม่เคยถางหญ้ามาก่อน เคียวเกี่ยวหญ้านี่ก็เพิ่งเคยซื้อนี่แหละ ตื่นเต้นจริงจัง


และแล้ว วันที่ต้องถางหญ้าก็มาถึง ตอนเช้า พวกผู้ชายขับรถบบรรทุกขนาดเล็กใส่เครื่องตัดหญ้ามา
ส่วนพวกผู้หญิงก็ใช้เคียวเกี่ยวหญ้า
ทุกคนไม่ว่าเพศไหนอายุเท่าไหร่ก็ตั้งใจถางหญ้ากันอย่างจริงจัง
พวกผู้หญิงทั้งหลายที่มาถางหญ้านี้ก็แข็งแรง สมกับเป็นพวกเจ้าหญิงคุยะกุ

ฉันรวมกลุ่มกับผู้หญิงอีก 4 คน เริ่มตัดหญ้า ค่อยๆ เดินลึกเข้าไปเรื่อยๆในป่า พอถึงตอนนั้นก็เข้าใจอย่างนึง
“วาคะคินี่ส่วนมากเป็นภูเขา”
“ก็ใช่อย่างนั้นแหละ”
คนวาคะคิตอบกลับมา
และหลังจากนั้นก็รู้อีกว่า งานถางหญ้าหมู่บ้านนี่มีปีละ 3-4 ครั้ง ถ้ามาตัดหญ้าด้วยตัวเองไม่ได้ก็ต้องจ่ายเงินแทน
ถ้าอายุถึง 75 ปี เมื่อไหร่ก็เลิกไปงานตัดหญ้าได้ อืม ช่างแข็งแรงกันจริง


แต่ว่าท่ามกลางธรรมชาติ ได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนช่าวสารกับคนพื้นที่เดียวกัน
มีการได้ร่วมลงแรงแบบเหงื่อหยดติ๋งๆ กันกับทุกคน ดูเป็นกิจกรรมอันดี ของหมู่บ้านวาคะคิ



หน่อย
เกิดที่กรุงเทพฯ
ตอนนี้อาศัยอยู่กับสามีชาวญี่ปุ่นและลูกน้อยที่วาคะคิ อำเภอทาเคโอะ จังหวัดซากะ
ตอนอยู่ที่เมืองไทย เคยทำงานเกี่ยวกับงานศิลปะและสื่อสิ่งพิมพ์
ตอนนี้มาอยู่คิวชูมี ใบอนุญาติสำหรับทำงานมัคคุเทศก์ภาษาไทยสำหรับนำเที่ยวในเกาะคิวชู